ลักษณะทั่วไป
ดัชชุน รูปร่างเตี้ย ขาสั้น ตัวยาว แต่มีการพัฒนาของกล้ามเนื้อที่แน่นและแข็งแรง ลักษณะการเชิดศีรษะเต็มไปด้วยความกล้าหาญและมั่นใจ สีหน้าของดัชชุนแสดงออกซึ่งความฉลาด ทั้งๆ ที่ขาสั้นเมื่อเทียบกับความยาวของลำตัว แต่ดัชชุนด์ไม่เคยแสดงออกถึงลักษณะของความพิการ งุ่มง่ามหรือยืดยาดในการเคลื่อนไหว มีความฉลาด สดใสและกล้าหาญโดยไม่คำนึงถึงอันตราย มุ่งมั่นในการทำงานทั้งบนดินและใต้ดิน ประสาทสัมผัสทั้งหมดพัฒนาอย่างดี มีคุณสมบัติพิเศษสำหรับเกมการล่าสัตว์ใต้ดิน นอกจากนี้ ยังเต็มไปด้วยจิตวิญญาณในการล่าสัตว์ รูปร่างและจมูกที่เหมาะสม ทำให้ได้เปรียบเหนือพันธุ์อื่นทั้งหมดของสุนัขที่ใช้ในกีฬาการสะกดรอย
ความเป็นมา
สุนัขดัชชุน เป็นสุนัขที่อยู่ในกลุ่มฮาวด์มีรูปร่างที่กระทัดรัด ฉลาด ขี้ประจบ ลำตัวยาวดูแปลกตาจึงเป็นที่รู้จักกันในนาม "สุนัขไส้กรอก" ชื่อดัชชุน (dachs หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง hund หมายถึงสุนัข ) ปรากฎในหนังสือเกี่ยวกับการล่าสัตว์ในยุโรปสมัยกลาง เป็นสุนัขที่มีความคล้ายคลึงสุนัขฮาวด์ในการแกะรอย และมีรูปร่างและอารมณ์คล้ายสุนัขเทอร์เรียร์ มีความสามารถในการติดตามตัวแบดเจอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ใต้ดินและมักจะออกมาหาอาหารตอนกลางคืน จึงมักถูกเรียกว่าสุนัขแบดเจอ
ด้วยความแข็งแรงและทรหด บวกกับความฉลาดและกล้าหาญ ทั้งบนและใต้พื้นดิน สุนัขดัชชุน หลายตัวรวมกันสามารถเข้าต่อกรกับหมีป่าได้อย่างสบาย ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จึงมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อใช้ในเกมล่าสัตว์แบบอื่นๆ สุนัขดัชชุนด์ขนาดเล็กที่มีน้ำหนัก 16 - 22 ปอนด์ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับสุนัขจิ้งจอก และในการแกะรอยกวางที่ได้รับบาดเจ็บ สุนัขขนาดนี้ได้กลายมาเป็นที่รู้จักกันดีในอเมริกา สุนัขที่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีน้ำหนัก 12 ปอนด์ ถูกนำมาใช้ล่าสัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "Stoat" มีขนาดเล็ก มีขนสีน้ำตาล อาศัยอยู่ในยุโรปตอนเหนือ
การนำเข้าสุนัขพันธุ์ดัชชุนด์มายังประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นมาก่อนการจัดโชว์สุนัขอเมริกาครั้งแรก สุนัขที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกใช้ในการล่าสัตว์น้อยมากเพราะว่าไม่ค่อยมีตัวแบดเจอร์และหมีป่า และไม่มีการล่ากวางด้วยสุนัข รวมทั้งไม่มีการล่าสุนัขจิ้งจอกด้วยการดมกลิ่น ลักษณะและรูปร่างที่ถูกต้องของสายพันธุ์ได้รับการส่งเสริม โดยการนำเข้าสายพันธุ์ที่ใช้ในการล่าสัตว์ของเยอรมันและเพื่อส่งเสิรมความสามารถในการล่าสัตว์ รวมถึงรูปร่างและอารมณ์ที่ดีเลิศ ความสามารถในภาคสนามตามกฎของ AKC ได้รับการกำหนดขึ้นในปี 1935
ลักษณะนิสัย
ดัชชุนเป็นสุนัขฉลาด ขี้สงสารและไม่ค่อยสร้างความ ยุ่งยาก ไม่ว่าจะอยู่ในบ้านหรือนอกบ้าน หากได้ รับการ ฝึกอย่างดี อย่างถูกวิธี มันจะเรียนรู้ที่จะเชื่อฟังคำสั่ง เข้ากับเด็กได้ดี ทีเดียว
![{pic-alt} {pic-alt}](https://image.dogilike.com/shareimg/contentimg/2012/meaw/Breeds%20Dachshund/icon-breed.jpg)
สุนัขพันธุ์ดัชชุนมีสัญชาตญาณของความเป็น นักล่ามันชอบขุดดินเป็นนิสัยในสายพันธุ์ มันชอบที่จะ ขุดดินนอกบ้าน และตะกรุยพื้นในบ้าน หากไม่ได้รับการออกกำลังกายอย่างเพียงพอ มีแนวโน้มที่จะอ้วนเพราะสุนัขพันธุ์ดัชชุนตัวเตี้ยเล็กนี้ จะมีขาสั้นแต่ลำตัว ยาว อันจะเป็นสาเหตุทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับหลัง กำลังศูนย์ถ่วงที่น้ำหนักตกลงบนลำตัว หากกินมากเกินไป จนอ้วนจะทำให้หลังแอ่นอาจจะมีปัญหากับกระดูกสันหลังได้ ผู้เลี้ยงควรใส่ใจกับปัญหาดังกล่าวด้วย
ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
ผู้ที่จะเลี้ยงดัชชุน ควรเป็นผู้เลี้ยงที่มีเวลาพาสุนัขไปออกกำลังกาย และให้ความสำคัญกับการควบคุมดูแลสุขภาพของสุนัข
นิสัยทั่วไป
นิสัยที่ทำให้หลายคนหลงใหลได้ปลื้มกระทั่งอดใจไม่ไหว ต้องหา สุนัข ดัชชุน มาไว้เป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของครอบครัว คือ ดัชชุน เป็นสุนัขที่อารมณ์สดใส ใจดี และมีชีวิตชีวา สง่างาม กล้าหาญ มีความมุ่งมั่น ชอบค้นหา มีจมูกดมกลิ่นที่ยอดเยี่ยม แต่ออกแนวดื้อรั้น อีกทั้งยังมีความอยากรู้อยากเห็น แถมมีความซุกซน ขณะเดียวกัน สุนัข ดัชชุน ก็มีความเฉลียวฉลาด และที่เป็นเสน่ห์สุดๆ ของเจ้าหมาพันธุ์ไส้กรอกก็ตรงที่ "เขาจะรักเจ้าของอย่างมากๆ ขี้อ้อนสุดๆ" ด้วยเหตุนี้ในต่างประเทศจึงนิยมเลี้ยงดัชชุนไว้ในบ้าน โดยเฉพาะครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก
และอย่างหนึ่งที่ไม่อาจลืมหรือมองข้ามไปได้ จนบางครั้งทำให้หลายๆ คนคิดจะคัดออกจากการเป็นสมาชิกของครอบครัวทั้งที่เป็นธรรมชาติของมัน ก็คือ ดัชชุน จะชอบขุดดิน ขี้อิจฉา โกรธง่าย และค่อนข้างดื้อรั้น อย่าแปลกใจหากมันชอบที่จะขุดหลุมขุดโพรงและวิ่งไล่จับหนูจับแมลงสาบเล่น เพราะนั่นคืออุปนิสัยดั้งเดิมของมันที่ถ่ายทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
อาหารและการเลี้ยงดู
หลายๆ คนที่เปิดใจกว้างคิดจะรับเจ้าสุนัขไส้กรอกเข้ามาเป็นสมาชิกภายในบ้าน ก่อนอื่นต้องถามใจด้วยว่า มีเวลาพาเขาไปเดินเล่นอย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ หรือไม่ เพราะดัชชุนเป็นสุนัขที่ชอบการเดินมาก อีกทั้งยังอ้วนง่าย ทำให้เสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพตามมาภายหลัง ดังนั้น ในการเลือกซื้อสุนัขพันธุ์นี้มาเลี้ยงจะต้องดูในเรื่องสุขภาพและความแข็งแรงเป็นหลัก สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยง สุนัข ดัชชุน ควรใช้อาหารเม็ด ควรให้วันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น ข้อควรระวังในการเลี้ยง ดัชชุน คือ ห้ามเลี้ยงจนมันอ้วน เพราะจะมีปัญหาต่อกระดูกสันหลังของมันได้
โรคและการป้องกัน
สุนัข ดัชชุน มักจะเป็นโรคตะโพกอ่อน จะพบอาการชัดเจนเมื่อสุนัขโตแล้ว ถ้าเป็นโรคนี้แล้วจะกระโดดไม่ไหวเหมือนขาไม่มีแรง นอกจากนี้ ส่วนหลังของดัชชุนจะได้รับอันตรายได้ง่ายมาก เนื่องจากมีหลังที่ยาวกว่าปกติ กระดูกงอระหว่างกระดูกสันหลังเมื่ออายุมาก และปัญหาเกี่ยวกับข้อกระดูกสันหลัง ดังนั้น อย่าลูบหลังของ สุนัข ดัชชุน บ่อย หรืออย่าให้ถูกกระทบกระแทกจากการกระโดด และไม่เหมาะที่จะเลี้ยง ดัชชุน ในบ้านที่มีพื้นต่างระดับหรือพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ มาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น